เมนู

เพียรอย่างเดียวเท่านั้น ถึงสติของเราตถาคตก็ตั้งมั่นโดยภาวะที่มุ่งหน้าไป
จับอารมณ์ และเพราะตั้งมั่นแล้วนั่นแหละ มันจึงไม่หลงลืม.
บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย อสารทฺโธ ความว่า เพราะมีกายและ
จิตสงบ แม้กายของเราตถาคตก็สงบด้วย. ในบทนั้นอธิบายว่า เพราะ
เหตุที่เมื่อนามกายสงบ แม้รูปกายก็ย่อมสงบด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส (รวมๆ) ว่า กายสงบ โดยมิได้ตรัสแยก
ว่า นามกาย รูปกาย.
บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็เพราะสงบแล้วนั่นแล กายนั้นจึง
ชื่อว่าไม่กระสับกระส่าย อธิบายว่า ปราศจากความกระวนกระวาย.
บทว่า สมาหิตํ จิตฺตํ เอกคฺคํ ความว่า แม้จิตอันเราตถาคต
ตั้งใจไว้โดยชอบแล้ว คือเป็นเหมือน (จับ) วางไว้ด้วยดี และเพราะ
ตั้งไว้โดยชอบแล้วนั่นแล จึงมีชื่อว่ามีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ ไม่หวั่นไหว
ไม่ดิ้นรน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งฌาน
ไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

ประโยชน์ของฌาน 4


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงคุณวิเศษเริ่มต้นตั้งแต่ปฐม-
ฌานจนกระทั่งถึงวิชชา 3 เป็นที่สุดที่พระองค์ทรงบรรลุแล้วด้วยปฏิปทา
นี้ จึงตรัสคำว่า โส โข อหํ ดังนี้ เป็นต้น. ในพระดำรัสนั้น คำใด
ที่จะต้องกล่าวในตอนนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ฯเปฯ จตุตฺถํ ณาน
อุปสมฺปชฺช วิหาสึ
คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในตอนว่าด้วยปฐวี-
กสิณในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ความจริงมีแปลกกันแห่งเดียวเท่านั้น ดังนี้

(คือ) ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นบทกิริยามาว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ
(แต่) ในที่นี้มาว่า วิหาสึ.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอย่างไรจึงเข้าฌานเหล่านั้น
อยู่ได้.
ตอบว่า ทรงเจริญกรรมฐาน.
ถามว่า กรรมฐานข้อไหน ?
ตอบว่า อานาปานสติกรรมฐาน.
ก็แล ฌาน 4 เหล่านี้ สำหรับบางท่านมีความเป็นหนึ่งแห่งจิต
เป็นผล สำหรับบางท่านเป็นบาท (พื้นฐาน) แห่งการเจริญวิปัสสนา
สำหรับบางท่านเป็นบาทแห่งการได้อภิญญา สำหรับบางท่านเป็นบาท
แห่งการเข้านิโรธ (พระนิพพาน) สำหรับบางท่านมีการก้าวลงสู่ภพ
เป็นผล.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น สำหรับพระขีณาสพ ฌาน 4 มีความเป็น
หนึ่งแห่งจิตเป็นผล ด้วยว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ทำบริกรรมกสิณ
อย่างนี้ว่า เราจักเข้าฌานมีจิตมีความเป็นหนึ่งอยู่เป็นสุขตลอดวัน ดังนี้
แล้วทำสมาบัติ 8 ให้บังเกิด.
สำหรับพระเสขะและปุถุชนคิดว่า เราออกจากสมาบัติแล้วมีจิตเป็น
สมาธิจักเห็นแจ้ง ดังนี้แล้วทำวิปัสสนาให้บังเกิด (อย่างนี้ ) ฌานย่อม
ชื่อว่าเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา.
ส่วนฌานลาภีบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ 8 ให้บังเกิดได้แล้ว เข้า
ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากสมาบัติแล้วปรารถนาอภิญญาซึ่งมี
นัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า แม้เป็นคนคนเดียวก็ทำให้เป็น

หลายคนได้ ดังนี้แล้วทำอภิญญาให้บังเกิด สำหรับฌานลาภีบุคคล
เหล่านั้นฌานย่อมเป็นบาทแห่งอญิญญา.
ส่วนพระอริยบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ 8 ให้บังเกิดได้แล้ว เข้า
นิโรธสมาบัติได้คิดว่า เราจักบรรลุนิโรธ คือนิพพานในปัจจุบันอยู่เป็นสุข
โดยไม่มีจิตสังขารตลอด 7 วัน ดังนี้แล้วทำสมาบัติให้บังเกิด ฌานของ
พระอริยบุคคลเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเป็นบาทแห่งการเข้านิโรธ.
ส่วนฌานลาภีบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ 8 ให้บังเกิดได้แล้วคิดว่า
เราจักเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมเกิดในพรหมโลก ดังนี้ ทำสมาบัติให้บังเกิด
(อย่างนี้) ฌานของบุคคลเหล่านั้นย่อมมีการก้าวลงสู่ภพเป็นผล.
ก็จตุตถฌานนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทำให้บังเกิดแล้วที่ควงโพธิ์
พฤกษ์ จตุตถฌานนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้เป็นบาทแห่งการ
เจริญวิปัสสนา เป็นบาทแห่งการได้อภิญญาและให้สำเร็จกิจทุกอย่าง จึง
พึงทราบว่า อำนวยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระให้ได้ทุกอย่าง. และ
จตุตถฌานนั้นได้อำนวยคุณเหล่าใดให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดง
เพียงบางส่วน (เอกเทศ ) แห่งคุณเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า โส เอวํ
สมาหิเต จิตฺเต
ดังนี้เป็นต้น.

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ


วิชชา 2 ในพระสูตรนั้น (คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณและจุตูปปาต-
ญาณ) มีการพรรณนาไปตามลำดับบทและวิธีเจริญได้กล่าวไว้แล้วอย่าง
พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. แท้จริงในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับในที่นี้มี
ความแปลกกันแห่งเดียวเท่านั้นดังนี้ คือในวิสุทธิมรรคนั้นท่านกล่าวบท